เมนู

เหมือนพี่เลี้ยงอาบน้ำให้พระราชกุมารแล้วเอาผ้าที่ชอบใจห่มแล้ว เอาดอกไม้
ทั้งหลายประดับแล้ว หยอดยาตาแล้วต่อจากนั้นก็เอามโนศิลา (สีแดง) เจิมหน้า
ผากเพียงจุดเดียวเท่านั้น เพียงเท่านี้ยังไม่ชื่อว่า มีรอยเจิมที่สวยงาม แต่เมื่อ
พี่เลี้ยงเอาสีทั้งหลายมาเจิมล้อม จึงชื่อว่า มีรอยเจิมที่สวยงาม ความอุปมาเป็น
เครื่องเปรียบเทียบนี้ พึงเห็นฉันนั้นเถิด. นี้ชื่อว่า ปทัตถูติบท. ก็การกล่าว
บ่อย ๆ นั่นแหละ. ด้วยสามารถแห่งพยัญชนะ อรรถะ และอุปสรรค ชื่อว่า
ทัพหีกรรมบทเปรียบเหมือนเมื่อกล่าวว่า อาวุโสก็ดี ภันเตก็ดี ยักษ์ก็ดี งูก็ดี
ไม่ชื่อว่า กล่าวย้ำความ แต่เมื่อกล่าวว่า อาวุโส อาวุโส ภันเต ภันเต ยักษ์
ยักษ์ งู งู ดังนี้ จึงชื่อว่า กล่าวย้ำความ ฉันใด เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสบทว่า ผัสสะก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นดุจการกดปลายไม้เท้า ไม่ชื่อว่า
เป็นการย้ำความ แต่เมื่อตรัสบ่อย ๆ ว่า ผัสสะ ผุสนา ผัมผุสนา สัมผุสิตัตตัง
ด้วยสามารถแห่งพยัญชนะ อุปสรรคและอรรถนั่นแหละ จึงชื่อเป็นการตรัส
ย้ำความ การแสดงโดยปริยายอื่นย่อมได้ฐานะ 2 ด้วยประการฉะนี้. บัณฑิต
พึงทราบเนื้อความในบททั้งหมด ในนิทเทสแห่งบทที่มีอยู่ด้วยสามารถแห่ง
ผัสสะแม้นี้เถิด.
คำว่า อยํ ตสมึ สมเย ผสฺโส โหติ ความว่า กามาวจร-
มหากุศลจิตดวงที่หนึ่งย่อมเกิดขึ้นในสมัยใด ชื่อว่า ผัสสะนี้ย่อมมีในสมัยนั้น
การพรรณนานิทเทสบทแห่งผัสสะเพียงเท่านี้ก่อน.

อธิบายเวทนานิทเทสเป็นต้น



ก็ต่อจากนี้ไป ข้าพเจ้าพรรณนาซึ่งเหตุสักความต่างกันในนิทเทสอื่น ๆ
แห่งบทมีเวทนาเป็นต้น คำที่เหลือพึงทราบโดยนัยที่กล่าวไว้ในนิทเทสแห่ง
ผัสสะนี้แหละ.

ในคำว่า ยํ ตสฺมึ สมเย นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเริ่มคำมีอาทิว่า
เวทนาในสมัยนั้นเป็นไฉนดังนี้แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้นก็ตรัสคำว่า ยํ ไว้ด้วยอำนาจ
แห่งบทสาตะะ (ความยินดี) เวทนาตรัสเรียกว่า ตัชชาในคำว่า ตชฺชามโน-
วิญฺญาณธาตุสมฺผสฺสชํ
นี้ เพราะเหมาะสม สมควรแก่ความสุขอันเป็นที่
ยินดีนั้น จริงอยู่ ตัชชาศัพท์นี้มีอรรถว่า เหมาะสมก็มี เหมือนอย่างที่ตรัสว่า
ตชฺชํ สารูปํ กถํ มนฺเตติ (ชนพูดถ้อยคำพอเหมาะพอสมควร) ดังนี้.
อีกอย่างหนึ่ง ธรรมที่ชื่อว่า ตัชชา เพราะเกิดแต่ธรรมมีรูปารมณ์
เป็นต้นเหล่านั้นและเกิดแต่ปัจจัยแห่งความสุขนี้ก็มี. มโนวิญญาณนั่นแหละ
ชื่อว่า ธาตุ ด้วยอรรถว่าไม่ใช่สัตว์ เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า มโนวิญญาณธาตุ.
ธรรมใดเกิดแต่สัมผัส หรือเกิดในสัมผัส เพราะเหตุนั้น ธรรมนั้น จึงชื่อว่า
สัมผัสสชะ. ชื่อว่า เจตสิกเพราะอาศัยจิต. ชื่อว่า สาตะ เพราะอรรถว่า
ชอบใจ. คำนี้มีอธิบายว่า เจตสิกที่เกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุที่ชื่อ
ตัชชา โดยความหมายดังที่กล่าวแล้วเป็นความยินดีในสมัยนั้นอันใด นี้ชื่อว่า
เวทนาในสมัยนั้นดังนี้. พึงทราบการประกอบกับบททั้งปวงด้วยประการฉะนี้.
บัดนี้ ในคำว่า เจตสิกํ สุขํ เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
ปฏิเสธสุขทางกายด้วยบทแห่งเจตสิก ทรงปฏิเสธทุกข์ทางใจด้วยบทแห่งสุข.
บทว่า เจโตสมฺผสฺสชํ ได้แก่ จิตเกิดในสัมผัส. หลายบทว่า สาตํ สุขํ เวทยิตํ
ได้แก่ เสวยอารมณ์ที่น่าชอบใจมิใช่อารมณ์ที่ไม่ชอบใจ เสวยอารมณ์ที่เป็นสุข
มิใช่อารมณ์ที่เป็นทุกข์. ส่วนสามบทข้างหน้าตรัสไว้ด้วยอิตถีลิงค์. ก็เนื้อความ
ในบททั้ง 3 นี้มีเพียงเท่านี้ว่า เวทนาที่ชอบใจมิใช่เวทนาที่ไม่ชอบใจ เวทนา
ที่เป็นสุขมิใช่เวทนาที่เป็นทุกข์.

ในนิทเทสแห่งสัญญา คำว่า ตชฺชามโนวิญฺญาณธาตุสมฺผสฺสชา
ได้แก่ สัญญาเกิดในสัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุอันสมควรแก่กุศลสัญญานั้น.
คำว่า สัญญา เป็นชื่อสภาวะ. คำว่า สญฺชานนา ได้แก่ อาการที่จำได้.
คำว่า สญฺชานิตตฺตํ ได้แก่ ภาวะที่จำได้. แม้ในนิทเทสแห่งเจตนาก็พึง
ทราบโดยนัยนี้.
ในนิทเทสแห่งจิต ที่ชื่อว่า จิต เพราะความที่จิตเป็นธรรมชาติวิจิตร
ชื่อว่า มโน เพราะกำหนดรู้อารมณ์. มโนนั่นแหละชื่อว่า มานัส จริงอยู่
ในคาถาว่า อนฺตลิกฺขจโร ปาโส ยฺวายํ จรติ มานโส เตน ตํ
พาธยิสฺสามิ น เม สมณ มโนรมา
(บ่วงใดมีใจไปได้ในอากาศ กำลัง
เที่ยวไป ข้าพระองค์จักคล้องพระองค์ไว้ด้วยบ่วงนั้น สมณะท่านไม่พ้นเรา) นี้
ตรัสเรียกธรรมคือราคะที่สัมปยุตด้วยใจว่า มานัส. พระอรหัต ก็ตรัสว่า มานัส
ดังในพระคาถานี้ว่า
กถญฺหิ ภควา ตุยฺหํ สาวโก สาสเน รโต
อปตฺตมานโส เสโข กาลํ กยิรา ชเนสุตา.
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ปรากฏ
ในหมู่ชน สาวกของพระองค์ยินดีในพระ-
ศาสนา ยังไม่บรรลุพระอรหัตเป็นพระเสข
บุคคล เพราะเหตุไรเล่า จึงทำกาละเสีย.

แต่ในนิทเทสนี้ มโนนั่นเองชื่อว่า มานัส เพราะท่านทำบทให้เจริญ
ด้วยพยัญชนะ. คำว่า หทัย อธิบายว่า อก ท่านเรียกว่า หทัย ในคำนี้ว่า
เราจักขว้างจิตของท่านไป หรือจักผ่าหทัยของท่านเสีย. จิตเรียกว่า หทัย
ในประโยคนี้ว่า หทยา หทยํ มญฺเญ อญฺญาย ตจฺฉติ (บุตรช่างทำรถ

ย่อมถากไม้เหมือนจะรู้ใจด้วยใจ) หทัยวัตถุเรียกว่า หทัย ในคำนี้ว่า วกฺกํ หทยํ
(ม้าม หัวใจ) แต่ในนิทเทสนี้ จิตเท่านั้นเรียกว่า หทัย เพราะอรรถว่า
อยู่ภายใน. จิตนั้นแหละชื่อว่า ปัณฑระ เพราะอรรถว่า บริสุทธิ์. คำว่า
ปัณฑระ นี้ หมายเอาภวังคจิต เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
จิตนี้ประภัสสร แต่จิตนั้นแลเศร้าหมองแล้วด้วยอุปกิเลสที่จรมา ดังนี้ อนึ่ง
แม้กุศลก็ตรัสเรียกว่า ปัณฑระเหมือนกัน เพราะออกจากจิตนั้น เหมือน
แม่น้ำคงคาไหลมาจากแม่น้ำคงคา และแม่น้ำโคธาวรีไหลมาจากแม่น้ำโคธวรี
ฉะนั้น.
ส่วนศัพท์มโน ในที่นี้ว่า มโน มนายตนํ ดังนี้ เพื่อแสดงมโน
นั่นเองว่าเป็นอายตนะ. ด้วยคำว่า มโน มนายตนํ นั้น จึงแสดงบทว่า
มโนนั้น. มโนนี้ชื่อว่า มนายตนะ เพราะเป็นอายตนะแห่งใจนั่นแหละ เหมือน
คำว่า เทวายตนํ นี้หามิได้ โดยที่แท้อายตนะ คือ มโนนั่นแหละ ชื่อว่า
มนายตนะ ในคำว่า มนายตนะนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า ชื่อว่า อายตนะ
เพราะอรรถว่าเป็นที่อาศัยอยู่ เพราะอรรถว่าเป็นบ่อเกิด เพราะอรรถว่าเป็น
ที่ประชุม เพราะอรรถว่าเป็นถิ่นเกิด เพราะอรรถว่าเป็นการณะ.
จริงอย่างนั้น สถานที่อยู่ในโลก เรียกว่า อายตนะ ดุจในประโยค
มีอาทิว่า ที่อยู่ของพระอิศวร (อิสฺสรายตนํ) ที่อยู่ของวาสุเทพ (วาสุ-
เทวายตนํ)
บ่อเกิดเรียกว่า อายตนะ ดุจในประโยคมีอาทิว่า บ่อเกิดแห่งทอง
(สุวณฺณายตนํ) บ่อเกิดแห่งรัตนะ (รตนายตนํ) แต่ในศาสนา สถานที่
ประชุมเรียกว่า อายตนะ ดุจในประโยคมีอาทิว่า เมื่อสถานที่ประชุมอันเป็น
ที่รื่นเริงมีอยู่ นกทั้งหลายย่อมพากันเสพที่นั้น. ถิ่นเกิดเรียกว่า อายตนะ ดุจ
ในประโยคมีอาทิว่า ทักขิณาบถ เป็นถิ่นเกิดของโคทั้งหลาย. การณะเรียกว่า

อายตนะ ดุจในประโยคมีอาทิว่า เธอย่อมถึงความสามารถในธรรมที่ควรทำ
ให้แจ้ง...ในที่นี้นั้น ๆ นั่นแหละได้ ในเมื่อมีสติ. ก็ในที่นี้ ย่อมควรแม้ทั้ง 3
อรรถะ คือ ชื่อว่า อายตนะ เพราะอรรถว่าเป็นถิ่นเกิด เพราะอรรถว่าเป็น
สถานที่ประชุม และเพราะอรรถว่าเป็นการณะ (เหตุ ).
จริงอยู่ ธรรมมีผัสสะเป็นต้น ย่อมเกิดพร้อมกันในมนะนี้ เพราะ
เหตุนั้น มนะนี้จึงชื่อว่า ความเกิดแห่งอายตนะ แม้เพราะอรรถว่าเป็นถิ่นเกิด.
รูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะในภายนอก ย่อมประชุมลงในมนะนี้ เพราะเหตุนั้น
มนะนี้จึงชื่อว่า อายตนะ แม้อรรถว่าเป็นสถานที่ประชุม. ก็มนะนี้พึงทราบว่า
เป็นอายตนะ เพราะอรรถว่าเป็นปัจจัยของผัสสะเป็นต้น มีสหชาตปัจจัยเป็นต้น
บ้าง ด้วยอรรถว่าเป็นเหตุ เพราะเป็นการณะบ้าง มนินทรีย์มีอรรถตามที่
กล่าวมาแล้วนั่นแหละ.
ธรรมชาติที่ชื่อว่า วิญญาณ เพราะย่อมรู้แจ้ง ขันธ์คือวิญญาณนั่นแหละ
เรียกว่า วิญญาณขันธ์ พึงทราบเนื้อความแห่งวิญญาณขันธ์นั้น ด้วยอำนาจ
ความเป็นกองเป็นต้น.
จริงอยู่ ขันธ์พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ด้วยความเป็นกอง ในพระ-
บาลีนี้ว่า น้ำในมหาสมุทร ย่อมนับว่าเป็นกองน้ำใหญ่แท้ ดังนี้. ขันธ์ตรัสไว้
โดยอรรถว่าคุณ ดังในประโยคมีอาทิว่า คุณคือศีล คุณคือสมาธิดังนี้. ขันธ์
ตรัสไว้โดยอรรถว่าเป็นเพียงบัญญัติ ดังในประโยคนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ได้ทรงเห็นแล้วแลซึ่งท่อนไม้ใหญ่ ดังนี้. แต่ในวิญญาณขันธ์นี้ ตรัสขันธ์ด้วย
รุฬหีศัพท์ (คือตามที่เข้าใจกัน) เพราะว่า ส่วนแห่งวิญญาณขันธ์ เรียกว่า
วิญญาณดวงหนึ่ง เพราะอรรถว่าเป็นกอง เพราะฉะนั้น วิญญาณแม้ดวงเดียว

ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งแห่งวิญญาณขันธ์ ท่านก็เรียกว่า วิญญาณขันธ์ ตามที่รู้กัน
เหมือนคนตัดส่วนหนึ่งแห่งต้นไม้ ท่านก็เรียกว่า ตัดต้นไม้ฉะนั้น.
คำว่า ตชฺชมโนวิญฺญาณธาตุ ได้แก่ มโนวิญญาณธาตุอันสมควร
แก่ธรรม มีผัสสะเป็นต้น เหล่านั้น. จริงอยู่ ในบทนี้จิตดวงเดียวเท่านั้น ท่าน
กล่าวชื่อไว้ 3 อย่าง คือ ชื่อว่า มโน เพราะอรรถว่ากำหนดอารมณ์ ชื่อว่า
วิญญาณ เพราะอรรถว่ารู้แจ้ง ชื่อว่าธาตุ เพราะอรรถว่าเป็นสภาวะ หรือ
เพราะอรรถว่ามิใช่สัตว์.
ในหมวด 5 แห่งผัสสะนี้ ตามที่กล่าวมาแล้ว จะกล่าวผัสสะก่อน
เพราะเป็นผัสสะเท่านั้น มิใช่ผัสสะที่เกิดด้วยสัมผัสสะที่เป็นตัชชามโนวิญญาณ-
ธาตุ และเพราะจิตเป็นตัชชามโนวิญญาณธาตุเท่านั้น เพราะฉะนั้น พระองค์
จึงไม่ทรงยกบัญญัติที่เป็นตัชชามโนวิญญาณธาตุสัมผัสสชา ใน 2 บทนี้ แต่ก็
ใช้ในบทวิตกเป็นต้นได้บ้าง ที่ไม่ยกขึ้นใช้ในนิทเทสนี้ เพราะมิได้กำหนดไว้.
อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงจำแนกธรรมหมวด 5 แห่ง
ผัสสะเหล่านี้จำแนกเป็นแต่ละแผนกแล้วทรงยกขึ้นสู่บัญญัติ ชื่อว่า กระทำสิ่ง
ที่ทำได้โดยยาก เมื่อบุคคลใส่น้ำต่าง ๆ น้ำมันต่าง ๆ ลงในภาชนะหนึ่งแล้ว
กวนตลอดวัน การมองดูสี หรือการสูดกลิ่น หรือการลิ้มรสก็อาจรู้ความต่าง
กันได้ เพราะความต่างกันแห่งสี กลิ่น และรส แม้จะเป็นถึงอย่างนั้น เขาก็
กล่าวกันว่า การกระทำนั้นเป็นการกระทำได้ยาก. แต่พระสัมมาสัมพุทธะ
เมื่อทรงจำแนกธรรมคือจิตและเจตสิกอันไม่ใช่รูปเหล่านี้ ที่เป็นไปในอารมณ์
หนึ่งกระทำให้เป็นแผนก ๆ แล้วทรงยกขึ้นสู่บัญญัติ ชื่อว่า ทรงกระทำได้ยาก
อย่างยิ่ง. ด้วยเหตุนั้น พระนาคเสนเถระจึงถวายพระพรพระยามิลินทร์ว่า
มหาบพิตร พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำสิ่งที่ทำได้โดยยาก.

พระยามิลินทร์ : ท่านพระนาคเสน พระผู้มีพระภาคเจ้าทำอะไร ซึ่ง
ทำได้โดยยาก
พระนาคเสน มหาบพิตร : พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบอกการกำหนด
ธรรมคือจิตและเจตสิกอันไม่ใช่รูปเหล่านี้ ที่เป็นไปในอารมณ์เดียวกันว่า นี้
เป็นผัสสะ นี้เป็นเวทนา นี้เป็นสัญญา นี้เป็นเจตนา นี้เป็นจิต.
พระยามิลินทร์ : ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอุปมาให้ฟัง.
พระนาคเสน : มหาบพิตร อุปมาเหมือนคนบางคนข้ามสมุทรด้วย
เรือ แล้วใช้อุ้งมือวักน้ำชิมดูก็พึงทราบหรือหนอว่า นี้น้ำแม่น้ำคงคา นี้น้ำแม่-
น้ำยมุนา นี้น้ำแม่น้ำอจิรวดี นี้น้ำแม่น้ำสรภู นี้น้ำแม่น้ำมหี.
พระยามิลินทร์ : ข้าแต่ท่านนาคเสน รู้ได้ยาก.
พระนาคเสน : มหาบพิตร การที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบอกการ
กำหนดธรรมคือจิตและเจตสิก ซึ่งไม่ใช่รูปเป็นไปในอารมณ์เดียวกันว่า นี้เป็น
ผัสสะ ฯลฯ นี้เป็นจิต ชื่อว่า ทรงทำสิ่งที่ทำได้ยากกว่านั้นมาก.

อธิบายวิตกนิทเทสเป็นต้น



ในนิทเทสแห่งวิตก ธรรมที่ชื่อว่า ตักกะเพราะตรึก. บัณฑิตพึงทราบ
ความเป็นไปแห่งธรรมที่ชื่อว่า ตักกะนั้น ด้วยสามารถแห่งการตรึกอย่างนี้ว่า
ท่านตรึกถึงอะไร ? ท่านตรึกถึงหม้อ ตรึกถึงเกวียน ตรึกถึงโยชน์ ตรึกถึง
ครึ่งโยชน์หรือ นี้เป็นบทแสดงสภาวะของการตรึก. ธรรมที่ชื่อว่า วิตก
เพราะอำนาจแห่งการตรึกพิเศษ คำว่า วิตกนี้เป็นชื่อของความตรึกที่มีกำลัง
มากกว่า. ชื่อว่า สังกัปปะ เพราะการกำหนดอย่างดี. เอกัคคจิต ชื่อว่า
อัปปนา เพราะแนบแน่นในอารมณ์. บทที่สองทรงเพิ่มขึ้นด้วยอำนาจอุปสรรค
อีกอย่างหนึ่ง อัปปนาที่มีกำลังกว่า ชื่อว่า พยัปปนา. ธรรมชาติที่ชื่อว่า การ